ทำงานวันละ 2 ชั่วโมงก็เกินพอ
วันนี้ผมมีหนังสือที่พูดถึงการบริหารเวลาภายใต้มุมมองใหม่ทั้งหมดมาเล่าให้ฟัง
นี่คือหนังสือต่างประเทศที่ชื่อว่า ′′Two Awesome Hours: Science-Based Strategies to Harness Your Best Time and Get Your Most Important Work Done′′ (แปลชั่วคราว: สองชั่วโมงที่สําคัญที่สุดทุกวัน)
เนื้อหาหลักของหนังสือ กล่าวถึงวิธีการปรับร่างกายให้ดีที่สุดจากการใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเผชิญกับบางสิ่ง
ผู้เขียนหนังสือคือ Josh Davis นักจิตวิทยาปริญญาเอกแห่ง Columbia เขาศึกษาเกี่ยวกับประสาททางวิชาการ ในหนังสือเขาให้กลยุทธ์บางอย่างในการปรับปรุงสมรรถนะทางกายภาพ และผมได้สรุป คัดเนื้อหาสาระสามข้อมาให้ได้อ่านกัน

Intelligent Change
01
ใส่ใจกับการหยุดพัก
มันเรียกว่า ′′หยุด′′ อะไร? เวลาเมื่อคุณทําสิ่งหนึ่งเสร็จแล้วหยุดสักครู่ แล้วคิดว่าสิ่งที่ควรทําต่อไปคืออะไรที่ควรทำ
ชีวิตของเราในแต่ละวันเริ่มขึ้นตามลําดับ เช่น ตื่นนอน แปรงฟันล้างหน้า กินอาหารเช้า สิ่งเหล่านี้คือลําดับชีวิต; ไปยังสำนักงาน ทำหน้าที่ ภารกิจ ทำไปเรื่อย ๆ ท้ายที่สุดก็ผ่านไปอีกหนึ่งวัน แล้วรู้สึกว่าตัวเองค่อนข้างยุ่ง งง บางทีก็รู้สึกว่าไม่มีอะไรคืบหน้า
เมื่อคิดทบทวน
ดูเหมือนว่าสิ่งสําคัญที่อยากทํามากที่สุด
หรือสำคัญที่สุดกลับยังไม่ได้ทํา
เช่น นัดเพื่อนออกไปเที่ยว ไปฝึกทักษะใหม่ ๆ ที่ตัวคุณเองต้องการ
ไปฝึกฝนเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ ที่นอกเหนือจากสายงานหลัก…
สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่งานด่วนแต่มันสําคัญ
เพราะถ้าไม่รักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ชีวิตก็ขาดความสมดุล
คนสำเร็จทําอย่างไร? พวกเขาจะยึดมั่นในการกระทําของพวกเขาอย่างมีสติ
Ronald Antonio O ‘ Sullivan (นักกีฬาสนุกเกอร์มืออาชีพของอังกฤษ หนึ่งในนักสนุกเกอร์ที่ดีที่สุดและประสบความสําเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์สนุกเกอร์) บอกว่า เมื่อเขาขัดหัวคิวเขาจะเข้าถึงเกม ถ้ารู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมการแทงได้เพราะขาดสมาธิ เขาจะใช้วิธีใช้ชอล์กขัดหัวคิวแบบเนิบ ๆ เพื่อผ่อนคลาย เพื่อคิดถึงการคอนโทรลเกมทั้งเกม ก่อนที่จะวางคิวลงบนมือแทงไม้ต่อไป
ในขณะที่คนทั่วไปมักจะคิดทีละช็อต แทงทีละลูก แก้ปัญหาตามสภาพที่เกิดเฉพาะหน้า
ชีวิตของเราก็เช่นกัน
ส่วนใหญ่แล้วเราต่างก็ทําซ้ำ ๆ กับการกระทําที่เป็นนิสัยอย่างไร้สมาธิคอยกำกับ
เมื่อใดก็ตามที่เราทําภารกิจอย่างใดอย่างหนึ่งเสร็จ อย่าเริ่มภารกิจถัดไปทันที หยุดดื่มน้ำ พักก่อนสักนิด คิดทบทวนสักเล็กน้อยแล้วค่อยเลือกทำในสิ่งต่อไป ทําอย่างมีสติควบคุม เพราะมันจะช่วยประหยัดเวลาได้เยอะมาก
นี่คือจุดแรกที่ช่วยให้การจัดการเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นคือการค้นหา ′′จุดหยุด′′

ภาพถ่ายโดย Pixabay จาก Pexels
02
การจัดการพลังงานทางจิตใจ
เรารู้ว่าร่างกายของแต่ละคนมีพลังจำกัด เช่น คุณเพิ่งเดินขึ้นตึกสี่ชั้นเสร็จ คุณนั่งลงบนเก้าอี้
ในตอนนั้นคุณก็ไร้เรี่ยวแรงที่จะทำอะไรได้อีก
เพียงแค่เอ้อระเหยสักนิด พลังก็จะกลับมา
สมองของเราก็เช่นกัน
แต่เป็นเรื่องปกติที่เราไม่รู้สึกว่าสมองล้า
เพราะโดยส่วนใหญ่ความล้าของสมอง ไม่ชัดเจนเท่ากับการอ่อนล้าทางกาย
โดยปกติแล้วหลังจากตื่นนอน ตอนนั้นคือช่วงเวลาที่สมองมีพลังงานมากที่สุด และมันจะทรงพลังไปอีกราว ๆ 2 – 3 ชั่วโมง
นี่จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะคิดแก้ปัญหา หรือวางแผนอย่างสร้างสรรค์
เช้าตรู่หลังจากตื่นนอน จึงควรคิดควรทํางานที่ยากที่สุด จําเป็นต้องใช้หัวให้มากที่สุด จากนั้นก็สามารถทํางานตามปกติ งานประจำที่ทำได้ง่าย ๆ ในแต่ละวัน
บางทีคุณอาจจะรู้สึกว่ามันค่อนข้างง่าย แต่จริง ๆ แล้วบางคนก็ทําไม่ได้เลย
จะมีกี่คนที่ไปที่บริษัทตั้งแต่เช้าตรู่ แต่สิ่งแรกที่ทำคือการท่องโซเชียล จากนั้นก็อ่านอีเมลแล้วรอ จริง ๆ แล้วกว่าจะเริ่มทํางานร่างกายก็หมดพลังไปแล้วถึง 1/3
บางทีคุณอาจจะรู้สึกเหมือนไม่มีอะไรเลย
แต่จริง ๆ แล้วลักษณะของ ′′สมอง′′ ที่เราพูดถึงก่อนหน้านี้ ความอ่อนล้าของสมองไม่ได้แสดงออกอย่างชัดเจน แต่มันค่อย ๆ ลดพลังลงไปอย่างต่อเนื่องอยู่
มนุษย์ที่มีประสิทธิภาพต้องรู้จักสร้างเวลา “คุณภาพ”
จริง ๆ แล้วเวลาสําคัญนี้ไม่จําเป็นต้องมีมากนัก
แค่ประมาณ 2 ชั่วโมงต่อวันมันก็มากเกินพอ
การบริหารพลังงานทางจิตใจ
เป็นทักษะสําคัญที่ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จระดับสูงได้
แค่ใช้ช่วงเวลาสําคัญส่งเสริมพลังงานของคุณให้ดีที่สุด

ภาพถ่ายโดย Ann Nekr จาก Pexels
03
เข้าใจสมาธิ
โดยทั่วไปแล้วเราต่างก็คิดว่าการไม่มีสมาธิในระยะยาวนั้นเป็นข้อบกพร่อง
ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้บอกว่า
แทนที่จะโทษตัวเอง เราควรจะไป ′′เข้าใจ′′ เรื่องสมาธิให้ถูกต้อง เขาชี้ให้เห็นถึงว่า อะไรกันที่ทำให้เราสูญเสียสมาธิ
ข้อแรกคือการปล่อยให้ตัวเองหลุดโฟกัสในเรื่องที่กำลังกระตือรือร้นอยู่
แค่ประมาณ 20 นาทีที่เผลอ อนุญาตให้ตัวเองทําอย่างอื่นเพราะคิดว่าเพื่อทําให้หัวสมองสดชื่น จึงเลือกงานง่าย ๆ หรืออะไรที่ไร้สาระมาแทรกระหว่างทํางาน แต่ละมันจะทำให้คนหลุดโฟกัสไปทั้งวัน

ภาพถ่ายโดย Monstera จาก Pexels
ข้อที่สองคือการตระหนักถึงความคิดในสมองที่มันวิ่งไปวิ่งมา
ถ้าจิตมันวิ่ง ก็อย่าไปพยายามดึงกลับ แค่ตระหนักว่ากำลังคิดอะไรอยู่ แล้วหาคำตอบ หรือตั้งคำถามกับความคิดนั้นอย่างมีสติ
หวังว่าเนื้อหาในวันนี้จะช่วยให้คุณค้นหาวิธีการจัดการเวลาที่มีประสิทธิภาพที่เหมาะสมกับตัวคุณเอง
สมดุลระหว่างการทํางานและครอบครัวทําให้ชีวิตมีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
แต่อย่าลืมว่า คนเราจะสำเร็จ ต้องเริ่มที่กล้าเปลี่ยนแปลง
บางทีจอร์จเบอร์นาร์ดชอว์อาจจะเห็นสิ่งนี้ชัดเจนเมื่อหลายศตวรรษที่ผ่านมา ′′ความคืบหน้าเป็นไปไม่ได้หากไม่เปลี่ยนแปลง และคนที่ไม่เปลี่ยนความคิดของพวกเขาจะไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลย′′ – Progress is impossible without change ; และ those who cannot change their minds cannot change.”
บทความโดย: ครูพี่ม้อค ธวัชชัย พืชผล
สำนักพิมพ์ 7D Book & Digital
ขอบคุณภาพประกอบจาก: เว็บไซต์ Pexels