
ภาพถ่ายโดย Freepik จาก Freepik
หากพูดถึงการลงทุนนั้น จะมีการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนทั้งดีและไม่ดีปะปนกันไป ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความรู้ความสารถและความกล้าได้กล้าเสียของตัวผู้ลงทุนเอง ซึ่ง ในบรรดาการลงทุนนั้น จะมีอยู่ 2 ตลาดที่มีผู้คนให้ความสนใจแต่ก็อาจจะมีทั้งรู้จักจริงและไม่จริงปนกันไป ซึ่งตลาดที่พูดถึงนั้นก็คือ ตลาดเงินและตลาดทุน นั่นเอง ซึ่งตามความหมายก็คือ
- ตลาดเงิน(Money Market) คือ ตลาดที่มีการระดมเงินจากประชาชน และการให้สินเชื่อระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี รวมทั้งการซื้อขายหลักทรัพย์ทางการเงินที่มีอายุการไถ่ถอนระยะสั้น เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วเงินคลัง อย่างนี้เป็นต้น
- ตลาดทุน(Capital Market) คือ แหล่งระดมเงินทุน และให้สินเชื่อระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ยกตัวอย่าง เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้บริษัทเอกชน หุ้นกู้แปลงสภาพ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นสามัญ ใบแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ หน่วยลงทุน ETF ตราสารอนุพันธ์ เป็นต้น
และทั้ง 2 ตลาดนี้จะมีอยู่หนึ่งผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความโดดเด่นและเป็นที่คุ้นหูกันมานาน นั่นก็คือ หุ้น ซึ่งหุ้นที่เราพูดถึงนี้ คือ หุ้นสามัญ (Common Stock) หุ้นสามัญนั้น เป็นตราสารประเภทหุ้นทุนชนิดหนึ่ง ซึ่งออกโดยบริษัทมหาชนจำกัดที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน โดยผู้ถือหุ้นสามัญจะมีสิทธิร่วมเป็นเจ้าของบริษัทและมีสิทธิในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือครองอยู่
ทีนี้เมื่อเรารู้ความหมายของหุ้นกันไปบ้างแล้วเราก็จะมาดูกันต่อที่ผลตอบแทนกันเลยนะครับ เพราะจาก
งานวิจัยและบทความมากมายหลากหลายชิ้นนั้น ต่างก็อ้างอิงว่าตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 8 – 12% ต่อปี ซึ่งถ้าหากเรานั้นได้ใช้กฎของ 72 ก็พอจะคาดเดาได้ว่าการลงทุนในหุ้นราว 6 – 9 ปี จะทำให้เงินลงทุนเริ่มต้นเพิ่มขึ้นเป็น 1 เท่าตัว ซึ่ง กฎ 72 นั้น คืออะไร หลายๆ ท่านก็คงสงสัย กฎของตัวเลข 72 (The Rule of 72) นั้นคือ สูตรคำนวณอย่างง่ายเพื่อประมาณการคร่าวๆ ว่าจะต้องใช้เวลานานเท่าใด เงินต้นจำนวนหนึ่งๆ นั้นจึงจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า นั่นเอง
เช่น ถ้าเราฝากจำนวน 100,000 บาท หากได้รับดอกเบี้ยทบต้นในอัตรา 6% ต่อปี เงินจำนวนนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 200,000 บาทในอีก 12 ปี
ที่ผ่านมานักวางแผนการเงินไม่ว่าจะ IC IP CFP ส่วนมากก็จะใช้ค่าสถิติประมาณ 8 – 12% ต่อปี มาเป็นผลตอบแทนคาดการณ์เพื่อวางแผนลงทุน ซึ่งนักลงทุนอาจจะมีความสงสัยต่อว่าได้จริงหรอ 12% เลยนะ ไม่ใช่ใครที่กระโดดเข้ามาก็จะทำได้ แต่เราก็ไม่อาจจะปฏิเสธสถิติได้
ซึ่ง วิธีที่ง่ายที่สุดอาจเทียบดูผลตอบแทนจากการลงทุนใน LTF ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็จะเป็น SSF ไปแล้ว ซึ่งมีการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเป็นหลัก พบว่าบาง Lot ที่ถือมาครบหรือเกินกว่า 5 ปี ได้ผลตอบแทนเกินเท่าตัวก็มี บาง Lot ก็ได้กำไรบ้างแต่ไม่มากนัก และบาง Lot ก็ยังขาดทุนอยู่
แต่ถึงยังไงค่าเฉลี่ยผลตอบแทน 8 – 12% ต่อปีนั้นก็เป็นค่าเฉลี่ยในระยะยาว เพราะผลตอบแทนเฉลี่ยที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงจะแตกต่างกันไป ซึ่งในตารางที่ 1 นี้เราได้แสดงผลตอบแทนเฉลี่ยแบบทบต้นของการลงทุน 10 ปี เป็นช่วงๆ โดยได้คำนวณจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยบวกเงินปันผลตั้งแต่ปี 2539 – 2561

รูปภาพจาก SET โดย ตลาดหลักทรัพย์
จากตารางข้างบนเราจะเห็นได้ว่าตลาดหุ้นไทยในอดีตนั้นแสดงถึงความผันผวนพอสมควร เพราะถ้าเราซื้อแล้วถือลงทุนหุ้นมาเป็นเวลา 10 ปี จะได้รับผลตอบแทนในช่วงตั้งแต่ -3.24% ถึง +18.63% ต่อปี ซึ่งก็ถือว่าผันผวนไม่ใช่น้อยเลย แต่ถ้าท่านนักลงทุนสนใจที่ลงทุนในระยะยาว ใครจะไม่สนจริงไหมครับ
แต่ถ้าเราจะเรียนรู้ให้มากขึ้นจากกราฟด้านบนนั้นจะพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2540 – 2549 ที่ตอนเข้าซื้อหุ้นนั้น ดัชนีไม่ได้มีความแพงนัก P/E Ratio ประมาณ 12 เท่า แต่เมื่อครบ 10 ปี ตลาดกลับมีราคาถูกลงโดยเปรียบเทียบ P/E Ratio เหลือ 8 เท่า ในช่วง 10 ปีนั้นอีกด้วย ซึ่งได้ผลตอบแทนเฉลี่ยเพียง 0.61% ต่อปี หรือในช่วงปี 2542 – 2551 ก็มีลักษณะการปรับตัวของตลาดเข้ามาใกล้เคียงกัน
แต่ถึงอย่างไรก็ตามในช่วงหลายปีที่ผ่านมาค่า P/E Ratio ของตลาดหุ้นไทยทรงตัวอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของการลงทุนรอบ 10 ปีนั้น มีระดับที่ใกล้เคียงและสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งหมด
แต่ถ้าเรามองย้อนกลับไปถึงเทคนิคทางการลงทุนโดยเฉพาะการ DCA ถือว่าจะมาช่วยลดความผันผวนของผลตอบแทนได้ไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะความไม่แน่นอนของการคาดการณ์ผลตอบแทนที่ได้รับ ย่อมส่งผลกระทบต่อสมมติฐานผลตอบแทนที่ใช้ในการวางแผนการลงทุนได้
โดยสรุปแล้วจะเห็นว่าทางสถิตินั้นผลตอบแทนของหุ้นสามารถทำให้เราถึงเป้าหมายได้ตามที่คาดหวังไว้ได้เพียงแต่เราต้องมีวินัย ในการลงทุนเพราะคนที่ประสบความสำเร็จนั้นนอกจากจะต้องหมั่นศึกษาหาข้อมูลเป็นประจำอยู่แล้วยังต้องมีความมานะอดทนรอได้อีกด้วยและก่อนจะไปก็ฝากข้อคิดจากนักลงทุนระดับโลกไว้เป็นแนวทางและเตือนใจท่านนักลงทุนทุกท่านครับ
“การจะทำเงินในตลาดให้ได้นั้น คุณต้องมีอิสระทางความคิดและรู้จักถ่อมตัวให้มาก”
– Ray Dalio –
อ้างอิง: Set investnow
เรียบเรียงโดย : ไชยวัฒน์ โชคบัณฑิต
กองบรรณาธิการ สำนักพิมพ์ 7D Book & Digitals
ขอบคุณภาพประกอบจาก : freepik