
ภาพถ่ายโดย drobotdean จาก Freepik
ในโลกยุคใหม่ที่ใครๆ ต่างก็มีความฝันที่จะอยากจะรวยเร็วขึ้นและอยากเกษียณเร็วขึ้นนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรด้วยกระแสต่างๆ มากมายทั้งจากซีรีส์บ้าง Soft Power ต่างๆ ที่เข้ามาบ้างและกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่หันไปตั้งทีม Start Up เพราะทั้งอยากจะช่วยแก้ปัญหาให้กับคนและอยากที่จะมีอิสรภาพทางการเงินที่ไวขึ้นนั้น แต่ก็มีส่วนน้อยที่ก้าวข้ามผ่านความยากลำบากแล้วประสบความสำเร็จจนกลายเป็น Unicorn ขึ้นมาได้ เพราะเรื่องที่โกหกร้ายแรงที่สุด ก็คงจะหนีไม่พ้นคำว่า การทำธุรกิจนั้นเป็นเรื่องง่าย
แล้วสำหรับกลุ่มคนที่ทำงานประจำนั้น แค่ลำพังจะเก็บเงินให้ได้ก็ยากแล้ว แต่อย่าห่วงไปเลยครับ เพราะในโลกแห่งการลงทุนแล้วทุกคนสามารถที่จะมีอิสรภาพทางการเงินหากตั้งอยู่กับการลงทุนอย่างมีความรู้ควบคู่ไปกับการมีสติในการนำเงินไปลงทุน
เพราะถ้าคุณอยากที่จะรวยก่อนเกษียณแถมไม่มีเวลาลงทุนและยังขาดความรู้ในการลงทุนอีก ในยุคนี้ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปเพราะยังมีการลงทุนอีกประเภท ที่เรียกว่า กองทุนรวม (Mutual Fund) เพราะ
กองทุนรวมนั้น คือ การที่คนทำงานมนุษย์เงินเดือนหรือนักลงทุนเองนำเงินของตัวเองแล้วรวบรวมเงินนำมาลงทุนตามแต่ที่นโยบายที่กองทุนรวมนั้นๆ กำหนดไว้ โดยจะมี “ผู้จัดการกองทุน” ที่เป็นมืออาชีพช่วยบริหารจัดการเงินของกองทุน ซึ่งก็ทำเรามั่นใจได้ว่ามีผู้รู้และเชี่ยวชาญ ที่คอยช่วยซื้อและจัดการสินทรัพย์ต่างๆ ที่ทางกองทุนได้นำเงินไปลงทุนตามแต่นโยบายที่ได้แจ้งไว้
ส่วนการเลือกกองทุนนั้นก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอีกเนื่องจากกองทุนมีมากมายหลากหลายประเภท ซึ่ง ก็จะจำแนกออกให้ได้ทราบไว้เป็นแนวทางกัน
กองทุนรรมนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบบเปิดกับแบบปิด
กองทุนแบบเปิด (Opened – End Fund) คือ กองทุนที่เปิดขายและซื้อคืนอยู่ หลังจากที่ได้มีการเสนอขายครั้งแรกไปแล้วนั่นเอง ซึ่งจะกำหนดอายุหรือไม่กำหนดอายุก็ได้
ส่วน กองทุนแบบปิด (Closed – End Fund) ก็คือ ทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไม่รับซื้อหน่วยคืนหลังจากที่เสนอขายครั้งแรกไปแล้วนั่นเอง ซึ่งจะไม่มีออกหน่วยลงทุนเพื่อนำมาขายอีก
ถัดมาจะเป็นประเภทของกองทุนรวม ซึ่งจะแบ่งตามมารตฐานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ (ก.ล.ต.) ตามที่ทุกคนเคยได้ยินนั่นเอง
- กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) คือ กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ ที่มีอายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี ถ้าบอกอีกอย่างคือกองทุนนี้มีความเสี่ยงต่ำที่สุด ซึ่งจะเหมาะกับผู้ที่ไม่ต้องการความเสี่ยง
- กองทุนรวมตราสารหนี้ (General Fixed Income Fund) ก็คือกองนี้จะเน้นลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงิน รวมถึงหุ้นกู้ภาคเอกชนด้วย ซึ่งกองทุนนี้ก็ถือได้ว่านักลงทุนเองก็ยังรับความเสี่ยงได้น้อย เพราะกองนี้ก็ยังมีความผันผวนไม่มาก
- กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาว (Long-Term Fixed-Income Fund) กองนี้ถือว่าลงทุนระยะยาวได้ และกองนี้ก็ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุเกิน 1 ปี
- กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น (Short-Term Fixed-Income Fund) กองทุนนี้ก็ลงในระยะยาวได้เช่นกัน แต่กองนี้จะลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี
- กองทุนรวมผสม (Balanced Fund) กองนี้เหมาะกับผู้ที่ยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลาง เพราะกองนี้เริ่มมีหุ้นหรือว่าลงทุนในตราสารทุนได้แล้ว แถมยังเป็นกองที่ลงทุนได้ในทุกสินทรัพย์ แต่การแบ่งสัดส่วนต้องชัดเจน คือไม่ให้ต่ำกว่า 35% และไม่เกิน 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมนั้นนั่นเอง
- กองทุนรวมผสมยืดหยุ่น (Flexible Portfolio Fund) กองนี้ก็จะคล้ายกับกองก่อนหน้าเลยคือสามารถลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์แต่ที่บอกว่ามีความ Flexible มากขึ้นนี้ก็คือ ไม่ได้มีข้อจำกัดในเรื่องของสินทรัพย์ว่าต้องมีสัดส่วนเท่าไหร่แต่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนเองว่าสภาพตลาดตอนนั้นเป็นเช่นไร
- กองทุนรวมหน่วยลงทุน (Fund of Funds) อธิบายง่ายๆ เลยก็คือเป็นกองทุนที่ไปลงทุนในกองทุนอื่น บอกเลยข้อดีคือมีการกระจายความเสี่ยงที่ดีเพราะไปซื้อกองทุนไว้หลายกอง แต่ข้อเสียคือค่าธรรมเนียมค่อนข้างซับซ้อน
- กองทุนรวมตราสารทุน (Equity Fund) กองนี้ต้องบอกเลยครับว่าต้องเป็นผู้ที่ยอมรับความเสี่ยงได้สูง แต่เมื่อเรารับความเสี่ยงได้สูงแล้วโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนก็สูงเช่นกัน กองนี้จะลงทุนได้ทั้งหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หรือแม้กระทั่ง Warrant และสัดส่วนที่กองทุนนี้ลงได้ต้องไม่น้อยกว่า 65% แล้วส่วนที่เหลือก็นำไปลงทุนอย่างอื่นจะเงินฝากหรือตราสารหนี้ก็ได้
- กองทุนรวมใบแสดงสำคัญสิทธิ (Warrant Fund) กองนี้มีความเสี่ยงสูงมากๆ เพราะต้องลงทุนใน Warrant หุ้น หุ้นกู้ หรือ หน่วยลงทุนต่างๆ ไม่น้อยกว่า 65% แล้วส่วนที่เหลือก็นำไปลงทุนอย่างอื่นได้
- กองทุนรวมหน่วยธุรกิจ (Sector Fund) กองนี้จะเป็นกองที่ลงทุนในกลุ่มธุรกิจเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น เช่น Sector ธนาคาร Sector พลังงาน เป็นต้น

ภาพถ่ายโดย Freepik จาก Freepik
จะเห็นได้ว่าแต่ละกองทุนรวมมีจุดเด่นแตกต่างกันตรงที่มีเงินน้อยก็ลงทุนได้ หรือคนที่ไม่มีเวลาก็สามารถลงทุนได้ เราเองก็จะรู้แถมยังมีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย ทั้งกองที่ลงทุนในตราสารหนี้ หุ้นในประเทศ หุ้นต่างประเทศ รวมไปถึงอสังหาริมทรัพย์ ทองคำ และสินทรัพย์อื่นๆ
แต่สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับมือใหม่เลยก็คือเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษา หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ (Fact Sheet) เพราะนี่ถือเป็น คัมภีร์ ที่จะให้รายละเอียดเราได้ทราบถึงนโยบายของกองทุนรวมว่านำเงินไปใส่ไว้ในที่ไหน หรือว่าเป็นไปในรูปแบบใด
ไม่ว่าเป็นเป็นแบบ Active คือ กองทุนต้องทำผลงานให้ใกล้เคียงหรือมากกว่าดัชนีที่ใช้อ้างอิง
กับ passive คือ เน้นล้อไปกับดัชนี หรือ ให้ง่ายกว่านั้น คือลงทุนตามดัชนี ซึ่ง Warren Buffett ก็ใช้วิธีนี้
แต่เรามีเทคนิคอีกอย่างสำหรับคัดเลือกกองทุน เพื่อที่จะทำให้ไปถึงจุดเป้าหมายโดยเร็วคือ S-R-F
S คือ Style ต้องหากองทุนที่มีนโยบายเหมาะกับเรา
เพราะการที่เราจะเลือกลงทุนอะไรซักอย่างสไตล์ที่ใช่ก็ยังเป็นสิ่งที่สำคัญอยู่เพราะบางคนมีความสนใจไม่เหมือนกัน บางคนชอบหุ้นขนาดเล็ก บางคนชอบหุ้นขนาดใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับเหตุผลที่เราใช้มารองรับ หรือบางคนอาจจะดูที่ผลงานเป็นหลักว่าผ่านร้อนผ่านหนาวมาแค่ไหนบ้าง
R คือ Return เรื่องของผลตอบแทน คือ กุญแจของการเกษียณเร็ว
เพราสิ่งนี้สำคัญมากเพราะเราเองต้องไปดูผลการดำเนินการย้อนหลัง 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี 5 ปี และตั้งแต่จัดตั้งกองทุน ว่าเป็นยังไง พร้อมกับเปรียบเทียบกับดัชนีชี้วัด (Benchmark) และกองทุนอื่นๆ แต่ก็ต้องขอบอกเลยว่าการดำเนินงานในอดีตไม่ได้ตัดสินผลงานในอนาคตแต่เราเองจำเป็นที่จะต้องรู้เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการตัดสินใจลงทุนได้อย่างถูกต้อง
F คือ Fee ค่าธรรมเนียมของกองทุนนั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน
เพราะกองทุนนั้นดำเนินการโดยบุคคลที่เชี่ยวชาญและมีความสามารถซึ่งก็ย่อมมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเป็นธรรมดา ซึ่งเราเองก็ต้องคอยดูข้างในกองทุนว่าไปลงทุนในที่ใดบ้างเผื่อบางทีซ้ำกันเราจะได้ไม่เสียค่าธรรมเนียมที่ซ้ำซ้อน

ภาพถ่ายโดย Jcomp จาก Freepik
จะเห็นได้ว่ามีมีเทคนิคและแนวทางที่สามารถทำให้เราก้าวข้าวไปถึงฝั่งฝันได้เพราะคงไม่มีใครที่จะอยากรอเกษียณตอน 60 ปี หรอกจริงไหมครับ แต่ถึงอยากนั้นก็ต้องดำเนินชีวิตอยู่บนความไม่ประมาทตามคำสอนของพระพุทธเจ้ากันนะครับ
อีกอย่างถ้าจะให้ดีก็ควรฝากเงินในกองทุนแทนออมทรัพย์ปกติ เพราะอัตราผลตอบแทนย่อมสูงกว่าอยู่แล้วเราอาจจะต้องหากองทุนที่มีสภาพคล่องอย่างถอนวันนี้ได้พรุ่งนี้ ก็จะดีมาก
หรือถ้าต้องการกระแสเงินสดมาใช้หน่อยก็ลงทุนเป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายจ่ายปันผลก็ได้ถือว่าได้ทั้งขึ้นทั้งล่องเลยทีเดียว
ดังนั้น การลงทุนในกองทุนรวมนั้น ก็เหมือนการเดินทางพร้อมคนอื่นซึ่งใครอดทนที่จะรวยได้ก็ย่อมประสบความสำเร็จและเกษียณก่อนได้จริงครับ
อ้างอิง: Set investnow
เรียบเรียงโดย : ไชยวัฒน์ โชคบัณฑิต
กองบรรณาธิการ สำนักพิมพ์ 7D Book & Digitals
ขอบคุณภาพประกอบจาก : freepik