ทำไมเราถึงต้องกลัวความหิว? ความหิวไม่ใช่สิ่งที่ผิดธรรมชาติ แต่เป็นสัญญาณเมื่อร่างกายต้องการสารอาหาร การรับประทานอาหารโดยปราศจากความหิวหมายความว่า คุณมักจะกินมากเกินไป
เมื่อเรากินอาหารก่อนที่เราจะรู้สึกหิว ก็เหมือนกับว่าเรากำลังเติมแก๊สลงในถังแก๊สที่เต็มแล้ว ผลที่ได้ก็คือ แม้ว่าเราจะไม่รู้สึกหิวในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่แคลอรีส่วนเกินจะถูกนำไปเก็บไว้เป็นไขมันในร่างกาย ไม่ใช่เรื่องใหญ่ถ้าพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว แต่ถ้าพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะทำให้มีน้ำหนักตัวมากเกินไป

ภาพถ่ายโดย lookstudio จาก freepik
คุณรู้หรือไม่ว่าการปล่อยให้ตัวเองหิวระหว่างมื้ออาหารสามารถทำให้คุณมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้และยังช่วยให้คุณสามารถลดน้ำหนักได้อีกด้วย
การปล่อยให้ตัวเองหิวก่อนกินอาหารไม่ได้หมายความว่าตัวเองจะหิวเสมอไป ความหิวก่อนมื้ออาหารจะช่วยเพิ่มฮอร์โมนการเจริญเติบโตของคุณ ช่วยในการฟื้นฟูร่างกาย ทำให้คุณดูอ่อนเยาว์ขึ้น และยังช่วยให้การย่อยอาหารดีขึ้น ความหิวก่อนกินอาหารยังช่วยเพิ่มการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของร่างกายของอินซูลิน ซึ่งมีส่วนในการช่วยควบคุมน้ำหนัก

ภาพถ่ายโดย Andres Ayrton จาก Pexels
ความหิวเป็นสัญญาณที่บอกว่าได้เวลากินอาหารแล้ว เช่นเดียวกับที่คุณได้รับสัญญาณในแต่ละวันว่าคุณควรนอน ดื่มน้ำ หรือเข้าห้องน้ำ แต่ถ้าคุณกินเพราะอารมณ์เสีย เบื่อ หรือเพื่อความสบายใจ คุณน่าจะสับสนเกี่ยวกับสัญญาณความหิวของคุณเสียแล้วล่ะ! เพราะคุณใช้อาหารเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดทางอารมณ์มากกว่าเพื่อเพิ่มพลังงานและการบำรุงร่างกาย
แต่โชคดี คุณยังมีวิธีที่สามารถคืนความสมดุลให้กับสัญญาณความหิวของร่างกายได้
ใช้ความหิวเป็นสัญญาณเพื่อให้รู้ว่าคุณควรกินเมื่อใดเวลาไหน ไม่กินจนกว่าคุณจะรู้สึกหิว และเมื่อรู้สึกหิว ให้กินอย่างพอเหมาะ พฤติกรรมการกินที่ไม่เป็นระเบียบและความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องอาหารส่วนใหญ่เกิดจากการฝืนธรรมชาติของร่างกาย กินโดยที่ไม่หิว รวบมื้ออาหารไว้กินทีเดียว หรือกินชดเชย
นอกจากนี้ การกินจุกจิกระหว่างวัน อาจเกิดขึ้นจากความเบื่อ ความเครียด ความวิตกกังวล เหตุผลทางสังคม หรือแม้กระทั่งความสนุก พฤติกรรมการกินเหล่านี้อาจทำให้ร่างกายไม่สมดุล คุณควรตั้งเป้าหมายโดยการใช้ความหิวเป็นสัญญาณในการกินอาหาร

ภาพถ่ายโดย Andrea Piacquadio จาก Pexels
เลือกเวลากิน
เลือกกินอาหารเวลาที่คุณสามารถเผาผลาญมันได้ ดีกว่าเลือกกินอาหารเวลาที่คุณไม่ต้องทำกิจกรรมอะไรแล้ว
อย่าใช้อาหารทำให้อารมณ์ดีขึ้น
การกินเพราะความเครียดหรือการกินแบบสบาย ๆ เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่ทำให้สัญญาณความหิวสูญเสียสมดุลและทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
อดอาหาร
การอดอาหารไม่สามารถช่วยได้ในระยะยาว มันทำให้ร่างกายของคุณทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพและการเกิดความเครียดได้ง่าย

ภาพถ่ายโดย Katerina Holmes จาก Pexels
อยู่กับความเป็นจริง
แทนที่จะตั้งเป้าหมายที่ยากเกินไป ให้รอสัญญาณความหิวและกินในเวลาที่เหมาะกับคุณและไลฟ์สไตล์ของคุณ
ถ้าคุณกินอาหารโดยที่ไม่เคยรู้สึกหิวจริง ๆ เป็นประจำ แสดงว่าคุณกำลังกินมากเกินไป สิ่งนี้จะทำให้คุณไม่สามารถลดน้ำหนักได้ หากคุณต้องการลดน้ำหนักแล้วล่ะก็ ลองลดเวลากินอาหารแล้วดูว่าคุณรู้สึกอย่างไร
ระหว่างมื้ออาหาร ลองรอไปก่อนสัก 4-5 ชั่วโมง เพื่อให้คุณรู้สึกหิวแต่ไม่โหยจนเกินไปเมื่อถึงเวลากินอาหาร

ภาพถ่ายโดย Katerina Holmes จาก Pexels
ถ้าคุณหิวอยู่ตลอดเวลา แสดงว่าคุณกินอาหารไม่เพียงพอ หรือกินคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป โปรตีนและไขมันดีไม่เพียงพอ ลองเพิ่มโปรตีนในมื้ออาหารของคุณ และหลีกเลี่ยงคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว เช่น ขนมปัง พาสตา ข้าวสาลี และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งขาว
อย่างไรก็ตาม วิธีนี้แนะนำให้ทำติดต่อกัน 52 วัน และควรทำแบบค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป อย่าหักโหมมากจนเกินไป ถ้าหิวมากก็สามารถเสริมด้วยผลไม้และดื่มน้ำมาก ๆ แล้วสุขภาพที่ดีจะอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน
อ้างอิง: Olga Pavuka (ผู้เขียน)
https://www.deeph.io/why-feeling-hungry-is-healthy/
. . .
หมายเหตุ: เป็นการแปลและเรียบเรียงพร้อมตัดทอนบทความตามความเหมาะสม
แปลและเรียบเรียงโดย: ปิ่นแก้ว ศิริวัฒน์
กองบรรณาธิการสำนักพิมพ์ 7D Book&Digital
ขอบคุณภาพประกอบจาก: เว็บไซต์ Pexels และ freepik