คนทำอสังหาริมทรัพย์ส่วนหนึ่ง คิดว่าสร้างภาพแล้วโฆษณา จะทำให้รวยง่ายสำเร็จเร็ว แต่ข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น เกมธุรกิจเป็นเกมคลาสสิค หลายปีก่อนนี้หรือในปีนี้ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เกือบทุกคนเข้าร่วมเพราะคิดว่ามันเป็นความสุนทรทางการเงิน กลับกลายเป็นหนี้สิน เป็นเชือกรัดคอตัวเองในท้ายที่สุด
นี่คือ 5 บทเรียนที่คุ้มค่า ซึ่งไม่ได้ช่วยให้คุณมีโอกาสชนะเกมมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้คุณเข้าใจได้ดีว่ากฎการลงทุนนั้นต้องพึ่งพาการบริหารการเงินในระดับมืออาชีพ นี่คือบทเรียนที่มืออาชีพสัดทัด และเชี่ยวชาญ

Photo by Karolina Grabowska from Pexels
บทเรียนที่ 1 เก็บเงินสดไว้เสมอ
จนถึงวินาทีนี้ นี่คือบทเรียนที่สําคัญที่สุดสําหรับผู้สร้างธุรกิจ ที่ไม่ต่างจากเกมพนัน ชัยชนะหมายถึงคุณจะต้องเป็นผู้เล่นคนสุดท้าย หรืออีกนัยหนึ่งคือคนสุดท้ายที่มีเงินเหลืออยู่
ดังนั้นหากคุณซื้อทุกอย่าง จ้างทุกเม็ด เมื่อถึงเวลาชําระบัญชีตามรายจ่าย คุณก็จะไม่มีเงินสดอีกต่อไป และในวันที่ไม่มีเงินสด คุณก็ต้องขายสินทรัพย์ที่ซื้อในราคาถูกกว่าเงินที่ซื้อมามาก ถ้าคุณต้องการอยู่ในเกม คุณได้รับอนุมัติจากนายทุน ให้จํานอง ให้ค้ำประกันอสังหาริมทรัพย์เพื่อหยิบยืม เมื่อนั้นคุณจะล้มละลาย – ปัญหาก็แค่เมื่อไหร่ เว้นแต่คุณจะโชคดีเพราะทำบุญไว้เยอะ
ปัญหาทางการเงินในโลกแห่งความเป็นจริง ล้วนรู้ดีทุกอย่างแต่ยั้งใจไม่อยู่

Photo by Tima Miroshnichenko from Pexels
แฮมเบอร์เกอร์ไครซิสท์ในสหรัฐอเมริกา เป็นหนึ่งในผลลัพธ์ที่พังทลายเพราะไม่มีเงินสด
เมื่อเกิดการถดถอยขึ้น ผู้คนก็หาทางออกด้วยการหลอกธนาคาร หลอกลูกค้า หลอกตัวเองด้วยการดันเคส สร้างยอดขายจากผู้บริโภคโดยใช้เครดิตปลอม ท้ายที่สุดเมื่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ล่มสลาย และวิกฤตธนาคารของอเมริกาอยู่ในภาวะลูกโป่งแตก ผู้คนที่ไม่มีเงินสดในมือก็ตายเรียบ
เพราะคนรวยติดจรวดตัวจริงจะรู้ว่า พวกทำอสังหาริมทรัพย์ไม่มีเงินสดในมือ จะต้องขายสินทรัพย์ในราคาที่ยอมกลืนเลือด เพราะถ้าหากพวกเขาไม่สามารถชําระสินเชื่อได้ พวกเขาก็จะถูกบังคับให้ขายทรัพย์ในราคาต่ำกว่าจำนวนเงินที่ลงทุนไปมาก หรืออาจแย่กว่านั้น ถ้าเผลอเรอจนถูกยึดทรัพย์จากเจ้าหนี้ ท้ายที่สุดก็อาจจะต้องกลายเป็นบุคคลล้มละลาย
แม้แต่ตลาดหุ้นยังต้องสะเทือนกับผลกระทบที่ตามมาเลยครับ เมื่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ปั่นป่วน นักลงทุนที่กลัวขาดทุนก็เทขายหุ้นเพื่อระดมเงินสดกลับมาถือไว้ พวกเขามีทางเลือกเดียวคือขายหุ้นไม่ว่าจะราคาไหนหรือจะขาดทุนแค่ไหนก็ตาม
ความต้องการเงินสดนี้ทําให้เกิดการขายสินค้าที่ทําให้มูลค่าตลาดลดลงจนเป็นปรากฎการณ์ในปี มันทําให้คนทํางานหนักเกือบทั้งหมดหรือทั้งหมดหมดตัว ในทางกลับกัน คนที่มีเงินสดในมือก็มีโอกาสซื้อสินทรัพย์หุ้นอสังหาริมทรัพย์ในราคาที่โคตรถูก ท้ายที่สุดพวกเขาก็ชนะเกมและทําเงินได้มากที่สุด รวยที่สุด เพราะเขาเก็บเงินสดไว้เสมอ

Photo by ThisIsEngineering from Pexels
บทเรียนที่ 2 ความอดทน
การชนะในเกม ชนะได้พันล้าน คุณต้องอดทนและต้องวางแผนในการเล่นเกมนี้ คุณไม่สามารถชนะได้หากซื้ออสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท หรือซื้อทุกอย่างตามใจสั่ง แต่คุณจะต้องมีแผนการดําเนินงานโดยรวม เพราะถ้าหากคุณหมดความอดทนและซื้อทุกอย่างที่คิดว่าจะทำกำไรง่าย ๆ คุณก็จะหมดเงินอย่างรวดเร็ว
หลักของคนชนะก็คือคุณต้องอดทนและเลือกเวลาที่เหมาะสมที่จะซื้อ หรือไม่ก็…ข้ามเคสนี้ไป
เช่นเดียวกัน หากซื้อได้โดยไม่มีสติกำกับ การลงทุนครั้งนี้คุณก็จะได้แค่นั่งหวังว่าทุกอย่างจะราบรื่น อย่าลืมว่านักลงทุนที่ประสบความสําเร็จไม่ได้ลงทุนตามความหวัง แต่พวกเขาลงทุนด้วยวิธีคิดวิธีการขายและวิธีทำเงิน ความอดทนเป็นส่วนที่ขาดไม่สำหรับตัวจริงที่แพ้ยาก
ในช่วงปลาย ๆ ปี 1990 Warren Buffett นั่งยิ้มดูตลาดและหยุดการซื้อขาย ในขณะที่นักลงทุนคนอื่นๆมีรายได้เป็น 100% สุดท้าย คนที่ได้กลับหัวเราะไม่นานนัก เพราะส่วนใหญ่ได้เร็วแต่ก็เสียหนักอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน บัฟเฟตต์อดทนรอเป็นปี ในที่สุดเมื่อตลาดและนักลงทุนหมดเงิน ราคาหุ้นอสังหาริมทรัพย์ในตลาดก็ร่วงติดพื้นอย่างรวดเร็ว ทําให้นักลงทุนส่วนใหญ่ที่ไม่มีความอดทนมากพอและขาดวินัยต้องล้มหายตายจากไป คนที่เราจำชื่อได้คือคนชนะ เพราะเขาอดทนมากพอ

Photo by Skitterphoto from Pexels
บทเรียนที่ 3 มุ่งเน้นไปที่กระแสเงินสด เข้าใจเกม สำเร็จได้
หากคุณมีเงินระดับหนึ่งและเป้าหมายคือเป็นผู้เล่นคนสุดท้ายที่มีเงินเหลืออยู่ ผู้ชนะคือคนที่มีสภาพคล่องสูง มันคือการรวบรวมเงินจากการบริหารสินทรัพย์ให้เกิดรายได้ ซึ่งแน่นอนว่า ต้องมีรายได้หลายทาง
ค่อย ๆ ไป เวลาจะช่วยให้มูลค่าสินทรัพย์เพิ่มขึ้นโดยกระแสเงินสดที่พวกเขาสร้างขึ้นมา แม้ว่าจะเป็นเรื่องพื้นฐานง่าย ๆ เช่น บัญชีออมทรัพย์หรือพันธบัตร แต่มันจะมีค่ามากกว่าหากมันทําเงินได้มากกว่าอัตราที่กําหนด ในการลงทุนที่ประสบความสําเร็จมากที่สุด ล้วนเป็นบริษัทที่สามารถสร้างกระแสเงินสดได้เพิ่มขึ้น บริษัทอย่าง Coca-Cola, Johnson & Johnson และ IBM ประสบความสําเร็จอย่างมากในหลายสิบปีเพราะกระแสเงินสดเติบโตเสมอ

Photo by Jessica Bryant from Pexels
บทเรียนที่ 4 สินทรัพย์ที่แพงที่สุดไม่ได้ดีที่สุดเสมอไป
มือระดับ Billionaire (ที่ตกม้าตาย) ส่วนใหญ่ต้องการเป็นเจ้าของโครงการที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อผลประโยชน์ที่คิดว่าจะสูงขึ้น แต่พวกเขาก็ต้องลงทุนมากที่สุดเช่นกัน นักลงทุนหลายคนแพ้แม้จะเป็นเจ้าของโครงการที่มีมูลค่ามหาศาล เพราะพวกเขาไม่สนใจค่าใช้จ่าย สนใจแต่กำไร มุ่งเน้นไปที่ยอดขายโดยไม่ใส่ใจกับค่าใช้จ่าย
ผู้ชนะ หรือ Billionaire ตัวจริง มักจะลงทุนในระยะยาว ผู้ชนะคือผู้หาเงินได้มากที่สุดในการลงทุน ส่วนชัยชนะที่แท้คือการซื้อถูกและขายแพง เมื่อมุ่งเน้นไปที่สินทรัพย์ที่แพงที่สุดหรือโครงการใหญ่ที่สุดจึงไม่ใช่คำตอบ มันคือความเสี่ยง

Photo by Dziana Hasanbekava from Pexels
บทเรียนที่ 5 อย่าใส่ไข่ทั้งหมดในตะกร้าใบเดียว
คุณจะได้นิดหน่อย และอาจไม่ได้เป็น Billionaire ตัวจริง โดยเป็นเจ้าของสินทรัพย์เพียงชิ้นเดียวหรือเพียงแค่ลงทุนและปล่อยเช่า เพราะทุกคนต่างรู้ดีว่าการลงทุนมีความเสี่ยง นักลงทุนที่แท้จริงจึงรู้วิธีบริหารความเสี่ยง โดยการแบ่งพอร์ตการลงทุน
วิชาอาแปะ สอนรวย | ครูพี่ม้อค สำนักพิมพ์ 7D Book & Digital
ขอบคุณภาพประกอบจาก: เว็บไซต์ Pexels